วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืช-สัตว์


โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืช-สัตว์




เซลล์สัตว์



เซลล์พืช




โครงสร้างหน้าที่ของเซลล์พืช-สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ถึงแม้จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน แต่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนประกอบที่สำคัญภายในเซลล์คล้ายคลึงกัน

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
1. ไลโซโซม (Iysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบ เฉพาะในเซลล์สัตว์และโปรติสต์บางชนิดรูปร่างค่อนข้างกลม ทำหน้าที่สะสมเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ และทำลายของเสียภายในเซลล์
2. ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุดของเซลล์พืชส่วนใหญ่สร้างจากสารเซลโลโลส เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำให้เซลล์ทนทานและเป็นเยื่อที่ยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าและออกจากเซลล์ได้ มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและป้องกันอันตรายให้กับเซลล์
3. ครอโรพลาสต์ (Chlorplast) พบในไซโทรพลาสซึม ของเซลล์พืชบางชนิด มีลักษณะเป็นเม็ดสีเขียวมีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุลของสารที่ผ่านเข้าออกชั้นในมีสารสีเขียวที่เรียกว่า ครอโรฟิลล์ (Cholorophyll) มีสมบัติดูดพลังงานแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชสามารถสร้างอาหารได้เอง ซึ่งเซลล์สัตว์ไม่มีครอโรพลาสต์
4. ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) เป็นของเหลวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดรวมทั้งส่วนที่เป็นออร์แกเนลล์ (Organelle) เป็นส่วนประกอบที่เทียบได้กับอวัยวะที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้แก่เซลล์มีหลายอย่าง เช่น ไรโบโซม (ribosome) มีลักษณะเป็นวงกลมหรือรูปไข่ทำหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์โปรตีน
5. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เยื่อหุ้มเซลล์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโมเลกุลของโปรตีนและไขมันมีลักษณะเป็นเยื่อบ่าง ๆ มีความยืนหยุ่นได้ และมีรูพรุนสามารถจำกัดขนาดของสารที่ผ่านเข้าออกได้ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ ยอมให้โมเลกุลของสารขนาดเล็กผ่านได้ เช่น น้ำ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้ เช่น โปรตีน หน้าที่ คือ ห่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ช่วยคัดเลือกสารและควบคุมปริมาณของสารที่ผ่านเข้าและออกจากเซลล์
6. กอลจิบอดี (Golgi boby) หรืออีกอย่างหนึ่งว่า กอจิแอพพาราทัส มีลักษณะเป็นท่อหรือถุงแบน ๆ เรียนซ้อนกันหลายชั้น ทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างคาร์โบโฮเดรตที่รวมกับโปรตีนซึ่งสร้างมาจากร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัมและมีส่วนสำคัญในการสร้างผนังเซลล์ของพืชและสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์
7. ร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูรัม (Endoplasmic Reticulum) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ สองชั้นเรียงทบไปทบมาคล้ายถุงแบน ๆ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่มีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและเป็นทางส่งโปรตีนนี้ออกนอกเซลล์ และชนิดที่ไม่มีไรโบโซมเกาะอยู่
8. ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) มีลักษณะกลมจนถึงเรียวแตกต่างกันตามชนิดของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์
9. แวคิวโอล (Vaculoe) มีลักษณะเป็นถุงใสที่มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์ สะสมน้ำ เก็บอาหาร และขับของเสียที่เป็นของเหลว
10. นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีรูเล็ก ๆ เป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งเป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ เข้าและออกจากนิวเคลียส ภายในมีโครโมโซม บนโครโมโซมมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนอยู่
หน้าที่ ของนิวเคลียส เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และควบคุมการทำงานของเซลล์และการเจริญเติบโตเป็นแหล่งสังเคราะห์สารพันธุกรรมและควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์


ส่วนประกอบของนิวเคลียส มีดังนี้
1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane) 
- มีลักษณะเหมือนกับเซลล์เมมเบรน
- ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมัน บางครั้งจะมีไรโบโซมมาเกาะอยู่
- จะมีรู (pores) มากมาย ซึ่งเป้นทางผ่าน เข้าออกของสารต่าง ๆ
2. โครมาติน (Chromatin)
- เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ติดสีย้อม
- ส่วนที่ติดสีย้อมเข้มเรียกว่า เฮทเทอโรโครมาติน (heterochromatin)
- ส่วนที่ติดสีจาง ๆ เรียกว่า ยูโครมาติน (euchromatin) ซึ่งเป็นที่อยู่ของยีนหรือดีเอ็นเอ
- โครมาตินจะหดสั้นเข้าและหนาในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวซึ่งเรียกว่า โครโมโซม
- สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดก็จะมีจำนวนโครโมโซม แตกต่างกันไป
3. ส่วนประกอบของนิวเคลียส
- มีรูปร่างกลม ๆ จำนวนไม่แน่นอนเกาะติดกับโครโมโซม
- เป็นส่วนที่ติดสีย้อมชัดเจน
- องค์ประกอบทางเคมี คือโปรตีน, RNA และเอ็นไซม์อีกหลายตัว
- ทำหน้าที่ของเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์
ข้อควรรู้ เซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส                                  
                                  ตารางเปรียบเทียบเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

                               โครงสร้างและหน้าที่การทำงานของออร์กาเนลล์ต่างๆ

ระหว่างเซลล์ของพืชและสัตว์

ออร์แกเนลล์
โครงสร้าง
หน้าทีการทำงาน
1.Cell wall ประกอบด้วยเส้นใยเซลล์ลูโลสปกป้องและค้ำจุน
2.Plasma membrane เป็นฟอสโฟลิพิดเรียงกัน 2 ชั้น และมีโปรตีนแทรก เป็นเยื่อเลือกผ่านของสารที่ผ่านเข้าออก
ระหว่างเซลล์
3.Nucleusประกอบด้วยเยื่อหุ้มล้อมรอบนิวคลีโอ-
ปลาสซึม,โครมาตินและนิวคลีโอลัส
เป็นที่เก็บสารพันธุกรรม
4.Nucleolusเป็นบริเวณที่รวบรวมโครมาทิด, RNA,โปรตีนสร้างและสะสม RNA
5.Ribosomeประกอบด้วยหน่วยย่อยของโปรตีนและ RNA สังเคราะห์โปรตีน
6.Edoplasmic reticulum(ER) โครงสร้างที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ลักษณะเป็นท่อยาวแบนสังเคราะห์หรือเสริมสร้างโปรตีนหรือ
สารอื่นๆขนส่งสาร
7.Rough ER เป็น ER ที่มีไรโบโชมเกาะอยู่ สังเคราะห์โปรตีน
8.smooth ER เป็น ER ที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น กำจัดสารพิษ
สร้างสารสเตรอยด์ ขนส่งไกโคเจน
9.Golgi bodyเป็นถุงแบนมีเยื่อหุ้ม เรียงซ้อนกันหลายอัน
ปลายของถุงมักพองออก
สังเคราะห์สารประกอบหลายชนิด เช่น
คาร์โบไฮเดรต ขับสารประกอบต่างๆ
10.Vacuole and vesicle เป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มเก็บสะสมสารต่างๆสะสมน้ำเรียกcontractile vacule สะสมอาหารเรียก foodvacule
11.Lysosomeเป็นถุงที่ทีเยื่อหุ้มภายในมีhydrolytic enzyme ย่อยสลายองค์ประกอบภายในเซลล์
12.Microbodyเป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มภายในมีเอนไซน์เฉพาะนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของเซลล์
13.Mitocondriaเป็นก้อนกลมหรือวงรี มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้นเยื่อหุ้มชั้นในเรียก cristae แหล่งผลิตพลังงาน,การหายใจระดับเซลล์
14.Chloroplas*
(พบเฉพาะในเซลล์สัตว์)
เป็นก้อนกลม รี เยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อชั้นในเรียก grana การสังเคราะห์แสง
15.Cytoskeletonไมโครทิวบูล เป็นเส้นยาวไม่แตกแขนง
มีโปรตีนทูบิลินเป็นหน่วยย่อย
ทำให้เซลล์คงรูปร่าง ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์
16.Cilia and Flagella แท่งของไมโครทิวบูลเรียงกันในรูปแบบ 9+2 ช่วยในการเคลื่อที่ของเซลล์
17.Centrioleเป็นแท่งของไมโครทิวบูลเรียงกันแบบ 9+0 สร้างสายสปินเดิลในการแบ่งเซลล์หรือเป็นส่วน
ฐานของซิเลียและแฟลเจลลา


...............
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
...........................              
  
เซลล์พืช
เซลล์สัตว์
1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี
2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก 2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก
3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์ 3. ไม่มีคลอโรพลาสต์
4. ไม่มีเซนทริโอล 4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์
5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน 5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
6. ไม่มีไลโซโซม 6. มีไลโซโซม

1 ความคิดเห็น: